แบ่งปันข้อมูลวัดเฉลิมพระเกียรติฯ. นนท์.
ส่ง กระเบื้องหลังคาวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร นนทบุรี
เป็นกระเบื้องเคลือบดินเผามุงหลังคาสีแดง แบบ กระเบื้องสุโขทัย(ใบโพธิ์) เก็บข้อมูลประวัติน่าสนใจของวัดมาฝากกัน
ปี พ.ศ. 2367พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และ พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระ บรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อ ปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติจึงเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของ พระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสรรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า " ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุง วัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย..." เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรง ห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบ ร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการ ศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
สถาปัตยกรรมที่น่าสนใจในวัดเฉลิมพระเกียรติ
กระเบื้องหลังคาเป็นกระเบื้องจีน สีขาว(กระเบื้องหลังคาศาลเจ้าจีน)
พระอุโบสถ กว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมจีน อาคารก่ออิฐถือปูน พื้นพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อน พระวิหาร กว้าง 15 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อรัชกาลที่ 3 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สถาปัตยกรรมไทยผสมจีน ภายในวิหารประดิษฐานพระศิลาขาว ศาลาการเปรียญ กว้าง 16 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมจีน อาคารก่ออิฐถือปูน
ข้อมูลจาก เว็บไซต์เทศบาลเมืองบางศรีเมือง
บันทีกโดย
กระเบื้องดินเผาไทย โรงงานผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระเบื้องดินเผา มุงหลังคา,ปูพื้น,ติดผนัง
8/6/2565